วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                                               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

หน่วย นิราศภูเขาทอง

เรื่อง พินิจชนิดและหน้าที่ของคำในบริบท : คำกริยา                                            เวลา    ชั่วโมง

.................................................................................................................................
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

             มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

             ตัวชี้วัด ท ๔.๑ ม. ๑/๓ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค

สาระสำคัญ

          คำกริยาที่ใช้แสดงการกระทำ แสดงอาการ หรือแสดงสภาพของคำนามและคำสรรพนามในประโยคเป็นคำกริยา

จุดประสงค์การเรียนรู้

        ๑. อธิบายลักษณะของคำกริยาในภาษาไทย

        ๒. วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำกริยาในประโยค

        ๓. เห็นความสำคัญของคำกริยาที่ใช้ในภาษาไทย               

สาระการเรียนรู้

         ๑. คำกริยา

กิจกรรมการเรียนรู้

               ๑. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเรื่องผู้บรรยายประกอบการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เช่น ฟุตบอล มวย ใช้คำชนิดใดบรรยายทำให้ผู้ชมเห็นภาพและเกิดความตื่นเต้นสนุกสนาน

               ๒. ครูแสดงท่าทางใบ้คำให้นักเรียนทาย หรืออาจให้นักเรียนที่มีปฏิภาณไหวพริบอาสาออกมาแสดง โดยอ่านบัตรคำจากครู เมื่อนักเรียนทายคำถูกต้อง ครูติดบัตรคำเฉลยบนกระดาน คือคำว่า ตำ ล้าง

               ๓. ให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง คำกริยา แล้วร่วมกันสนทนาในประเด็นต่อไปนี้

                        -      คำกริยาคืออะไร

                        -      คำกริยามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

                        -      สกรรมกริยากับอกรรมกริยาแตกต่างกันอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

                        -      กริยาอาศัยส่วนเติมเต็มกับกริยามีกรรมแตกต่างกันอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

                            -      กริยานุเคราะห์มีประโยชน์อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

               ๔. ครูอธิบายความรู้เพิ่มเติมและให้นักเรียนสรุปประเภทของคำกริยาเป็นแผนภาพความคิด

               ๕. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔ - ๕ คน ส่งตัวแทนออกมาเลือกบัตรคำจากครูกลุ่มละ ๑ ใบ นำกลับไปอ่านในกลุ่มโดยไม่ให้กลุ่มอื่นเห็น ช่วยกันคิดท่าทางใบ้คำ และแต่งประโยคจากคำนั้นเท่าจำนวนสมาชิกในกลุ่ม โดยให้มีบริบทในประโยคแตกต่างกัน
 
               ๖. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนทุกคน โดยแสดงท่าทางใบ้คำจะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เมื่อเพื่อน ๆ ทายคำแล้วจึงชูบัตรคำเฉลย จากนั้นกลุ่มผู้นำเสนอพูดประโยคที่แต่งไว้คนละ ๑ ประโยค ให้เพื่อน ๆ ฟังและช่วยกันวิเคราะห์ว่าคำกริยาในประโยคเหล่านั้นเป็นคำกริยาประเภทใด

               ๗. ให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์คำกริยาในนิราศภูเขาทองตามเวลาที่เหมาะสมไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ครบทุกคำ

               ๘. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้เรื่องคำกริยา คือ คำกริยาที่ใช้แสดงการกระทำ แสดงอาการ หรือแสดงสภาพของคำนามและคำสรรพนามในประโยคเป็นคำกริยา

สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้

         ๑. บัตรคำ

การวัดและประเมินผล

   วัดและประเมินผล

          ๑. ตรวจผลงานนักเรียน

          ๒. สังเกตจากการปฏิบัติงานกลุ่ม

   เครื่องมือวัดและประเมินผล

          ๑. ผลงานนักเรียน

          ๒. แบบสังเกตการปฏิบัติงานกลุ่ม
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น